สวัสดีนักเดินทาง
ความทรงจำเมืองน่านของพวกเรา น่าน – คือจังหวัดที่ธรรมชาติสวยงาม ภูเขาสวย เต็มไปด้วยวัฒนธรรมประเพณี ผู้คนน่ารัก สถานที่ท่องเที่ยวก็หลากหลาย วันนี้พวกเราเลยจะมาแบ่งปันความสุขการท่องเที่ยวเมืองน่าน ในแบบของเรา Be Traveler
พวกเราเดินทางออกจากกรุงเทพมุ่งสู่ อำเภอบ่อเกลือ จ.น่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 80 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเล็กๆริมแม่น้ำแม่มางไหลผ่าน ธรรมชาติตรงหน้าสวยงามตามรูปเนอะ
เป็นบ่อเกลือบนภูเขาแห่งเดียวในโลก บ่อเกลือนี้มีมาแต่โบราณ โดยการผลิตเกลือสินเธาว์ของหมู่บ้านเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง – เสียดายวันนี้เขาไม่ต้มเกลือ เศร้า….
เรานอนค้าง 1 คืน ที่ บ่อเกลือวิว รีสอร์ท เป็นรีสอร์ทเล็ก ๆ ริมลำน้ำมาง ซึ่ง
ตอนเช้าเลยตื่นแต่เช้าไป จุดชมวิวอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ชมวิวยามเช้า เลยได้รูปหมอกมาฝาก
จุดชมวิว 1715 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา – กับวันที่หมอกเยอะมาก จนมองอะไรไม่เห็น
สถานที่ต่อไป เขาแตะหมอก -ภูเขาสูงสลับซ้อนไปมา บนเส้นทาง จากบ่อเกลือ – ไปอำเภอปัว วิวทะเลภูเขา ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
โครตรักภูเขาเลยเมื่อมา น่าน…………..
ระหว่างทาง แวะ นมัสการตำหนักเจ้าหลวงภูคา
ไปนานก็ถึงอำเภอปัว แวะวัดภูเก็ต ตั้งชื่อตามหมู่บ้านที่ชื่อว่า หมูบ้านเก็ต แต่ด้วยวัดตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งทางเหนือ เรียกว่า “ดอย” หรือ “ภู” จึงตั้งชื่อว่า “วัดภูเก็ต” หมายถึง วัดบ้านเก็ตที่อยู่บนภู หรือ ดอย วัดภูเก็ต ถือว่าเป็นวัดที่มีภูมิทัศน์และวิวที่สวยงาม โดยจุดเด่นของวัด คือ มีระเบียงชมวิวด้านหลังวัด ติด กับทุ่งนาที่กว้าง ไกลพร้อมด้วยฉากหลัง เป็นภูเขาวนอุทยานดอยภูคา มีอุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ จิตรกรรม ฝาผนังสามมิติ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนปัว หรือ หลวงพ่อพุทธเมตตา” ที่ศักดิ์สิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
มองจากระเบียงวัดมาก็จะเห็น ตูบนาไทลื้อ กับวิวท้องนาด้านล่าง สวยเกินบรรยาย
แวะมื้อเที่ยงที่ ฟาร์มเห็ดบ้านหัวน้ำ ( บ้านผาเก๊าะน้ำกูน) ตั้งอยู่ในอำเภอปัว
แถมวิวจาก ฟาร์มเห็ดบ้านหัวน้ำ กับท้องทุ่งนา…
แวะ วัดต้นแหลง ก่อนเข้าเมืองน่าน วัดบ้านต้นแหลง เป็นอีกหนึ่งวัดที่แสดงออกถึงความงดงามของวัฒนธรรมไทลื้อ ลักษณะของวิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำซ้อนกัน ๓ ชั้น ลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลื้อแถบสิบสองปันนา ประตูทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านหน้ามีสิงปั้นคู่นั่งเฝ้าอยู่ หลังคาวิหารซ้อนลดหลั่นสามชั้น มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ลักษณะเด่นของวิหาร คือ หน้าต่างมีขนาดเล็กและแคบ แสงเข้าได้น้อยมาก บรรยากาศภายในจึงมือสลัว แต่สามารถมองเห็น องค์พระประธานที่สุกสว่าง น้อมนำให้เกิศรัทธา โดยเฉพาะช่วงเช้าที่แสงอาทิตย์ได้สาดส่องผ่านประตูด้านหน่ากระทบต่อองค์พระ ทำให้เกิด ภาพที่งดงามมาก ที่มาของชื่อ”ต้นแหลง” นั้น มาจากฃือไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ทางภาคกลางเรียกว่า”ต้นยวงผึ้ง” ในอดีต ในหมู่บ้านนี้มีต้นแหลงเป็นจำนวนมาก วัดต้นแหลงได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทบล้านนา ที่สมควรได้รับการเผยแพร่ ประปี 2552 ประเภทอาคารทางศานาจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
แถมวิวท้องทุ่งนา ใกล้กับวัดบ้านต้นแหลง เห็นแล้วบอกเลยว่า มาเที่ยวเมืองน่านเถอะ
ระหว่างทางกลับ … สะดุดตากับอุโบสถหลังหนึ่ง ริมถนนเส้นทางที่จะเข้าตัวเมืองน่าน เลยต้องหยุดรถเมื่อนมัสการ เลยได้ความว่า วัดนาวงศ์ ตั้งอยู่ ณ ตำบลเจดีย์ อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งวัดนาวงศ์มีพื้นที่ 7 ไร่ 1 งาน 14 ตารางวา เดิมชื่อของวัดนาวงศ์ ชื่อว่า “วัดปางเคาะ”ปัจจุบัน พระอภิเชษฐ์ กิตฺติวโร ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน
วิหารไม้สักทองทรงล้านนา – สร้างด้วยไม้สักทอง ตกแต่งสีทองสวยงามอร่าม หลังคา 3 ชั้น ยกช่อฟ้า เบื้องหน้าของวิหารมีพญานาค พร้อมทั้งสิงห์องค์ใหญ่อยู่ด้านหน้า
ภายในก็ตกแต่งได้สวยงามวิจิตรบรรจงมาก และประดิษบานพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชการที่ 9 ครองราชครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ.2549 ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็น 1 ใน 9 วัดในพระพุทธศาสนาที่ได้รับพระราชทาน
แวะเข้าที่พัก . . ข่วงช้างค้ำ กลางเมืองน่าน สามารถเดินไปเที่ยวถนนคนเดินเมืองน่านได้สบาย จอดรถไว้ที่ที่พัก ห้องสะอาด ราคาไม่แพง อบอุ่น เป็นกันเอง
แดดร่มลมตก ออกไปเดินเล่นกัน … หรือใครอยากจะเช่าจักรยานปั่น ก็ใช้บริการที่ที่พักได้เลย ป่ะ ..
วัดหัวข่วง เป็นวัดที่มีความสำคัญในเขตหัวแหวนเมืองน่าตั้งอยู่ใกล้หอคำ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน มีวิหาร และเจดีย์ มีลักษณะศิลปกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่านฝีมือประณีตงดงาม
เมื่อเข้าไปในอุโบสถ ต่างก็เห็นถึงความประหลด ว่า ทำไมพระประธานถึงไม่อยู่ตรงกลาง โดยจากการสอบถามก็ได้ความว่า สมัยก่อนชาวบ้าน วัดหัวข่วง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม หรือเขาเรียกกันว่า คุ้ม คือ คุ้มวัดหัวข่วง และ คุ้มวัดภูมินทร์ มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันถึงขั้นลงไม้ลงมือได้รับบาดเจ็บ ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย คิดว่าคงเป็นเพราะ พระประธานทั้ง 2 วัดหันหน้าประชันกัน วัดหัวข่วงจึงยอมขยับพระประธานมาทางซ้าย เพื่อยุติปัญหา จากนั้นมาก็อยู่กันสงบสุข ไม่ทะเลาะกันอีกเลย นี่คือ สัญลักษณ์ขององค์พระที่ช่วยสร้างสันติสุขของเมื่องน่านแห่งนี้
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถานสำคัญ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัว ประดับอยู่โดยรอบ พระธาตุเจดีย์สร้าง ด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐาน รองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัวโผล่ส่วนหัวลอย ออกมาครึ่งตัวขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจาก เหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชั้น และเป็น องค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับ มาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไปเป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์มีความสวยงาม มาก
นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำ ปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรี ศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬี ทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎกใหญ่ที่สุดในประเทศ
แวะไปเดินเล่นถนนคนเดิน แล้วแวะมานั่งขันโตกหน้าวัดภูมินทร์ กลับที่พัก หลับฝันดี
ตื่นเช้า แวะ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง การ ได้เดินทางไปสักการบูชากราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชูธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับ อานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า
วัดภูมินทร์ – ไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนัง ปู่ม่าน ย่าม่าน
เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” เป็นวัดที่แปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันประตูไม้ทั้งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายโดยช่างฝีมือล้านนาสวยงามมาก นอกจากนี้ฝาผนังยังแสดงถึงชีวิตและ วัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมาตามพงศาวดารของเมืองน่าน
พระอุโบสถทรงจตุรมุข พระประธานจตุรพักตร์ นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาค พระอุโบสถจตุรมุขนี้กรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่า เป็นพระอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของ ประเทศไทยพระอุโบสถ
ภายในอุโบสถตรงใจกลางประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักตร์ออก ด้านประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฏางค์ ชนกันประทับ นั่งบนฐานชุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ผู้ที่ไปชมความงามของ พระอุโบสถนี้ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันไดทิศใด จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน
จิตรกรรมฝาผนังในวิหาร หลวงเขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ ภาพเด่น คือ ภาพปู่ม่านย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิงแต่งกายไทลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์
ภาพปู่ม่านย่าม่าน
เดินต่อมาอีกหน่อย – วัดมิ่งเมือง เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน
เที่ยงพอดี แวะ ชิมข้าวซอย ร้านข้าวซอยต้นน้ำ ร้านเล็กๆ แต่รสช่าติไม่เล็ก นะจ๊ะ
อิ่มท้อง ออกรถต่อไปกันที่ วัดพระธาตุเขาน้อย กับวิวเมืองน่านที่แสนสวย
กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.2523 ด้วยความเป็นวัดที่อยู่บนเขาสูงจึง เป็นจุดชมทิวทัศน์ ที่สวยงาม อยู่ตรงลานปูน พระพุทธรูปปางลีลาองค์ใหญ่ คือพระพุทธมหาอุตมมงคมนันทบุรี ศรีเมืองน่าน สร้างเมื่อปีพ.ศ.2542 ถีอเป็นจุดเดียวที่เห็นเมืองน่านจากมุมสูง
องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้าน ตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่อ อิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าได้
น่าน 3 วัน 2 คืน บ่อเกลือ 1 คืน ตัวเมืองน่าน 1 คืน ได้พบธรรมชาติและความสงบจากทางธรรม 55+ ใครชอบแนวเที่ยววัดไหว้พระ ชมธรรมชาติิ ภูเขาสวยๆ ขอแนะนำเมืองน่าน คุณจะไม่ผิดหวัง ที่จริงเราเดินทางไปเมื่อขึ้นดอยเสมอดาว ที่อำเภอนาน้อย แต่ฝนดันตกเลยไม่ได้เห็นความสวยงาม หวังว่าจะได้มีทริปแก้มืออีกรอบ 55+
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
Be Traveler